20 ปีที่เข้าร่วมกับ UN

กว่า 20 ปี ที่ลีเรคโกเข้าร่วมกับกรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ

UN global

จุดเริ่มต้นการเดินทางไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

 

ลีเรคโกตระหนักถึงความสำคัญของ สิ่งแวดล้อม สังคม ซึ่งส่งผลกระทบต่อโลกของเราในระยะยาว จึงมีแนวคิด ปฏิบัติตามหลักการ เดียวกับองค์การสหประชาชาติ (United Nation) ซึ่งก็คือสิ่งที่เรียกว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainability) มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 โดยเชื่อมั่นว่าสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นได้อย่างยั่งยืน จึงต้องริเริ่มลงมือกระทำ ให้การศึกษาและสื่อสารต่อผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม ทำให้ทุกท่านมีความเข้าใจถึงหลักการและความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ช่วยกันเป็นแรงผลักดัน สร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้กับโลกของพวกเรา

“พนักงานทุกท่านเป็นฟันเฟืองสำคัญ สามารถช่วยเรา ผลักดันองค์กรขับเคลื่อนไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนได้รวดมากกว่าที่เคย”

คำถามที่ถูกถามบ่อยเกี่ยวกับ United Nation (UN)

UN Global Compact (UNGC) คือ กรอบความร่วมมือการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนแห่งสหประชาชาติ ได้รับการเผยแพร่โดย นายโคฟี่ อันนาน เลขาธิการแห่งสหประชาชาติ ระหว่างการประชุมเวทีเศรษฐกิจโลกเมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2542

โครงการได้เริ่มอย่างเป็นทางการที่สำนักงานใหญ่แห่งสหประชาชาติ นครนิวยอร์ก เมื่อวันที่ 26กรกฎาคม พ.ศ. 2543และได้รับการเผยแพร่ออกไปทั่วโลก เพื่อขยายความร่วมมือจากบริษัทน้อยใหญ่ ทุกภาคอุตสาหกรรม รวมไปถึงมูลนิธิ องค์กรไม่แสวงหากำไร และสมาชิกอื่นๆที่ไม่อยู่ในรูปบริษัท เพื่อผนึกกำลังสร้างโลกของเราให้ดียิ่งกว่าเดิม

โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อสร้าง การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต่อทั้งประเทศและโลกของเรา

เนื่องจากความเชื่อที่ว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นจุดเริ่มต้น เป็นรากฐานที่จะสร้างโลกของเราให้ดียิ่งกว่าเดิม

UN เชื่อมั่นว่า การพัฒนาอย่างยั่งยืน เกิดขึ้นได้มาจากการมุ่งแก้ปัญหาเชิงรุกใน 4 มุมมองพื้นฐาน คือ สิทธิมนุษยชน, มาตรฐานแรงงาน, การปกป้องสิ่งแวดล้อม และ การต่อต้านทุจริต

4 มุมมองพื้นฐานที่ Global compact

 

  1. สิทธิมนุษยชน (Human rights) 

  2. มาตรฐานแรงงาน (Labour standard)

  3. การปกป้องสิ่งแวดล้อม (Environment)

  4. การต่อต้านทุจริต (Anti-Corruption)

UN-Global_01.jpg

หลักการสร้างเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนตามหลักสากล 10 ประการ

 

  • ประการที่ 1: ส่งเสริมและเคารพต่อการปกป้องสิทธิมนุษยชนตามมาตราฐานสากล
  • ประการที่ 2: ดำเนินธุรกิจอย่างไม่มีส่วนเกี่ยวข้องในการละเมิดสิทธิมนุษยชน
  • ประการที่ 3: ดำเนินธุรกิจที่ยอมรับเสรีภาพในการชุมนุม และการตระหนักถึงสิทธิในการเจรจาต่อรอง
  • ประการที่ 4: การขจัดไม่ให้มีการบังคับในการทำงาน
  • ประการที่ 5: ยุติการใช้แรงงานเด็ก
  • ประการที่ 6: การขจัดไม่ให้มีการเลือกปฏิบัติตามในด้านการจ้างงาน
  • ประการที่ 7: ดำเนินธุรกิจอย่างสนับสนุนแนวทางเชิงป้องกันความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม
  • ประการที่ 8: ดำเนินธุรกิจโดยใช้แนวคิดส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
  • ประการที่ 9: สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาและแพร่กระจายของเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
  • ประการที่ 10: ดำเนินธุรกิจโดยต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ รวมถึงการขู่กรรโชกและการติดสินบน

จากพื้นฐานทั้ง 10 ประการ ทาง องค์การสหประชาชาติ (United Nation) แบ่งความมุ่งมั่นออกเป็น 17 เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (17 Sustainable Development Goals หรือ 17 SDGs) ซึ่งเป็นกรอบทิศทางการพัฒนาของโลกภายหลังปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ที่องค์การสหประชาชาติ (United Nations: UN) กําหนดขึ้นต่อเนื่องจาก MDGs หรือเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Development Goals) ที่สิ้นสุดลงเมื่อเดือนสิงหาคม 2558 ดังต่อไปนี้

 

  1. ขจัดความยากจน (No poverty)

  2. ขจัดความหิวโหย (Zero hunger)

  3. มีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี (Good Health and Well-Being)

  4. การศึกษาที่เท่าเทียม (Quality Education)

  5. ความเท่าเทียมทางเพศ (Gender Equality)

  6. การจัดการน้ำและสุขาภิบาล (Clean Water and Sanitation)

  7. พลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้ (Affordable and Clean Energy)

  8. การจ้างงานที่มีคุณค่า และ การเติบโตทางเศรษฐกิจ (Decent Work and Economic Growth)

  9. อุตสาหกรรม นวัฒตกรรม และ โครงสร้างพื้นฐาน (Industry, Innovation and Infrastructure)

  10. ลดความเหลื่อมล้ำ (Reduced Inequalities)

  11. สร้างเมือง และ ถิ่นฐานของมนุษย์อย่างยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities)

  12. แผนการบริโภค และ การผลิตที่ยั่งยืน (Responsible consumption and Production)

  13. การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action)

  14. การใช้ประโยชน์จากมหาสมุทรและทรัพยากรทางทะเล (Life Below Water)

  15. การใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบก (Life On Land)

  16. สังคมสงบสุข ยุติธรรม ไม่แบ่งแยก (Peace, Justice and Strong Institutions)

  17. ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Partnerships for the Goals)

17 SDGs

สามารถอ่านเพิ่มเกี่ยวกับ SDG ที่บริษัทลีเรคโกโฟกัส ที่นี่

รายงาน CORPORATE SOCIAL RESPONSIBILITY ของลีเรคโก

LYRECO จัดทำและรายงานต่อ UN ทุกปี
รายงานล่าสุดเป็นของปี 2020 CSR